โรงเรียนสฤษดิเดช เดิมชื่อ “โรงเรียนตลาดจันทบุรี” เปิดทำการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาเมื่อวันที่3 สิงหาคม พ.ศ. 2465 โดยอาศัยอาคารเรียนหลังเดิมของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ
20 เมษายน 2466 ย้ายไปทำการสอนที่โรงเรียนวัดสวนมะม่วง
19 มกราคม 2471 ย้ายไปทำการสอนในค่ายทหาร และได้ย้ายกลับมาทำการสอนที่โรงเรียนวัดสวนมะม่วงอีกครั้งหนึ่งจนถึงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 กระทรวงศึกษาธิการได้มอบกิจการของโรงเรียนให้เทศบาลเมืองจันทบุรีรับไปจัดการศึกษาและต่อมาได้สร้างอาคารเรียนถาวรในบริเวณโรงเรียนศรียานุสรณ์ด้านติดกับถนนสฤษดิเดช ชื่อว่า “โรงเรียนเทศบาล 1” ตำบลตลาดจันทบุรี เปิดทำการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4
พ.ศ. 2483 เทศบาลเมืองจันทบุรีได้โอนกิจการของโรงเรียนกลับให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ และภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนสฤษดิเดช” ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเรียกชื่อโรงเรียนตามสถานที่ตั้งของโรงเรียน
พ.ศ. 2504 ได้ย้ายมาสร้างอาคารเรียนในที่ดินของวัดกลาง กรมศาสนา มีเนื้อที่ 15 ไร่ 2 งาน 28 ตารางวา โดยนายฝั่ง และนางสงวน สุทธิธนกูล ได้บริจาคเงินจำนวน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) สมทบกับเงินงบประมาณอีก 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) สร้างอาคารเรียนแบบ 019 ตามแบบกรมสามัญจำนวน 16 ห้องเรียน ให้ชื่ออาคารว่า “อาคารสุทธิธนกูล”
พ.ศ. 2505 โรงเรียนได้รับงบประมาณอีก 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน) จัดสร้างอาคารเรียนแบบ 004 ขนาด 8 ห้องเรียน ให้ชื่อว่า “อาคารทองใหญ่” ซึ่งบีจจุบันได้รั้อถอนไปแล้วเนื่องจากได้ก่อสร้างอาคารเรียนสี่ชั้นทดแทนเพื่อรองรับการขยายการศึกษา
พ.ศ. 2505 นางพยอม อังศุวร และนางหุน วัฒนา ร่วมกันบริจาคเงิน 75,000 บาท (เจ็ดหมื่นห้าพันบาท) สร้างอาคารเรียนแบบ 017 ตามแบบกรมสามัญศึกษา จำนวน 4 เรียน และต่อเติมชั้นล่างอีก 1 ห้อง ให้ชื่อว่า “อาคารพรหมภักดี มู่ลี่ ตะเวทีกุล” ซึ่งบีจจุบันได้รั้อถอนไปแล้วเนื่องจากได้ก่อสร้างอาคารเรียนสี่ชั้นทดแทนเพื่อรองรับการขยายการศึกษา
พ.ศ. 2505 ได้รับเงินงบประมาณ 35,000 บาท (สามหมื่นห้าพันบาทถ้วน) และนายฝั่ง สุทธิธนกูล ได้บริจาคสมทบอีก 3,010 บาท (สามพันสิบบาทถ้วน) ดำเนินการจัดสร้างโรงฝึกงาน ให้ชื่อว่า “โรงฝึกงานสทธิธนกูล”
พ.ศ. 2509 ได้รับงบประมาณ 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) และนางสุม พลคิด ได้ร่วมบริจาคสมทบอีก 20,000 บาท (สองหื่นบาทถ้วน) จัดสร้างอาคาร 1 หลัง ให้ชื่อว่า “อาคารสุม พลคิด” ซึ่งปัจจุบันได้รื้นถอนไปแล้ว เนื่องจากชำรุดทรุดโทรมมาก
พ.ศ. 2509 นางเกษศรี ตะเวทีกุล ได้บริจาคเงิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) และได้รับงบประมาณสมทบอีก 150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) จัดสร้างอาคารเรียนแบบ 017 ตามแบบกรมสามัญศึกษา จำนวน 4 ห้องเรียน และต่อเติมชั้นล่างอีก 1 ห้องเรียน ให้ชื่อว่า “อาคารอาบเกษศรี ตะเวทีกุล”
พ.ศ. 2517 ได้รับงบประมาณจำนวน 770,000 บาทและคณะศิษย์เก่าเตรียมธรรมศาสตร์และ การเมือง รุ่นที่ 4 บริจาคสมทบอีก 50,000 บาท สร้างอาคารเรียนครึ่งตึกครึ่งไม้ ขนาด7 ห้องเรียน ชั้นล่างเป็นห้องประชุม สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2518 ให้ชื่อว่า “อาคาร ต.ม.ธ.ก. รุ่น 4”
พ.ศ. 2519 กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติให้โรงเรียนสฤษดิเดช เปิดทำการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นด้วย โดยเปิดทำการสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 3 ห้อง ทำการสอนได้ 1 ปีก็ต้องยกเลิก
พ.ศ. 2523 โรงเรียนสฤษดิเดชได้โอนจากสังกัดกรมสามัญศึกษา มาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2525 ได้ทำการย้ายโรงฝึกงานสุทธิธนกูล มาสร้างข้างโรงอาหารทางด้านอาคารพรหมภักดี และต่อเติมชั้นล่างของอาคารพรหมภักดีเป็นห้องเรียนอีก 1 ห้อง
พ.ศ. 2525 นายแดง นางรัญจวน วงษ์กล้าหาญ ได้บริจาคเงินจำนวน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) สมทบร่วมกับเงินงบประมาณ 2,600,000 บาท (สองล้านหกแสนบาทถ้วน) จัดสร้างอาคารเรียนเป็นตึกสามชั้น จำนวน 10 ห้องเรียน ชั้นล่างเป็นใต้ถุนโล่ง ให้ชื่อว่า “อาคารแดงรัญจวน วงษ์กล้าหาญ”
พ.ศ. 2526 โรงเรียนได้รับงบประมาณจากทางราชการจัดสร้างอาคารเอนกประสงค์จำนวน 1 หลัง สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527
พ.ศ. 2529 โรงเรียนได้รับงบประมาณจัดสร้างอาคารเอนกประสงค์แบบ 206/2526 จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 1,349,000 บาท (หนึ่งล้านสามแสนสี่หมื่นเก้าพันบาทถ้วน) และจัดสร้างส้วมจำนวน 1 หลัง 10 ที่นั่ง เป็นเงิน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)
พ.ศ. 2537 โรงเรียนได้รับงบประมาณจำนวน 3,249,000 บาท (สามล้านสองแสนสี่หมื่นเก้าพันบาทถ้วน) จัดสร้างอาคารเรียนแบบ สปช.2/2528 ขนาด 3 ชั้น จำนวน 9 ห้องเรียน ทำพิธีเปิดอาคารเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 โดย นายอมร อนันตชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ใช้ชื่อว่า “อาคารกาญจนาภิเษก เฉลิมพระเกียรติ ร.9”
พ.ศ. 2540 เภสัชกรชัชชัย นางอโนมา วิริยะลัภพะ ได้บริจาคเงินจำนวน 2,000,000 บาท(สองล้านบาทถ้วน) จัดสร้างอาคารเรียนแบบ สปช.2/2528 ขนาด 3 ชั้น จำนวน 9 ห้องเรียน และใช้งบประมาณสมทบจากกองผ้าป่าการศึกษา โดยนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน จำนวน 950,00 บาท (สองล้านเก้าแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2540 พิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2540 เวลา 10.39 น. แล้วเสร็จในวันที่ 30 มีนาคม 2541 ใช้ชื่อว่า “อาคารวิริยะลัภพะ 1”ดำเนินการเปิดอาคารเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2542 โดย นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2540 รับมอบเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 31 เครื่อง , อุปกรณ์ซาวด์แลปเพิ่ม 20 ชุด
พ.ศ. 2542 คุณแดง – คุณรัญจวน วงษ์กล้าหาญ บริจาคสร้างห้องสมุด 854,000 บาท
พ.ศ. 2542 รับบริจาคตู้ใส่หนังสือห้องสมุด 204,000 บาท
พ.ศ. 2542 รับบริจาคชุดอุปกรณ์ห้องปฏิบัติการทางภาษา 50 ชุด เป็นเงิน 400,000 บาท
พ.ศ. 2542 ครูแสวง – ครูทวี บุญส่ง บริจาคเงินปรับปรุง ห้องประชุม เป็นเงิน 634,652 บาท
พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2545 ก่อสร้างอาคารเรียน 1 หลังขนาด 4ขั้นใต้ถุนโล่ง 18ห้องเรียน โดยได้รับงบประมาณทาง ราชการ 4,8000,000 บาท ผู้ปกครองบริจาคสมทบ 317,500 บาทและงบประมาณสมทบอีกจำนวน 2,000,000 บาท จากเภสัชกรซัซซัย นางอโนมา วิริยะลัมภะ รวมงบประมาณ 7,117,500 บาทและเปิดใช้ ครั้งแรกเมื่อภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 ใช้ซื่ออาคารหลังนี้ว่า “อาคารวิริยะลัมภะ 2” (แทนอาคารพรมภักดี มู่ลี่ตะเวทีกุล)
พ.ศ. 2545 ก่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนเอกลักษณ์ไทย โดยได้รับงบบริจาคจาก นพ.ประเสริฐ-แพทย์ หญิงวิไลวรรณ ริมซลา จำนวน 400,000 บาท และคณะใช้ซื่ออาคารหลังนี้ว่า “อาคารริมซลา” ปิจจุบันใช้ เป็นสถานที่จัดการเรียนรู้ดนตรีไทย-นาฏศิลปีไทย
พ.ศ. 2547 ก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ โดยได้รับความร่วมมือบริจาคเงินในการก่อสร้างจาก ชุมซนและผู้ปกครอง จำนวน 1,044,959 บาท ใช้เป็นสถานที่รวบรวมชองเก่าที่มีอยู่ในท้องถิ่นหรือชองเก่าที่ มีคุณค่า ปิจจุบันใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2547 จัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีทางการศึกษาโดยได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียน สฤษดิเดชร่วมกันบริจาคซื้อโทรทัศน์และเครื่องเล่นดีรีดี ครบจำนวน 63 ห้องเรียน เป็นเงิน 945,000 บาท และได้รับงบประมาณจากครูแสวง-ครูทวี บุญล่ง จำนวน 380,000 บาท เพื่อจัดทำห้องล่งเครือข่าย รายการโทรทัศน์ตามสายและอุปกรณ์ติดตั้งภายในโรงเรียนสฤษดิเดช รวมงบประมาณในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีทางการศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 1,325,500 บาท และจะเริ่มใช้ดำเนินการจัดการเรียนรู้อย่างเต็ม รูปแบบในปีการศึกษา 2548 เป็นต้นไป
พ.ศ. 2547 ผู้อุปการะคุณ- ผู้ปกครองนักเรียน ร่วมบริจาค TV ขนาด 29 นิ้ว พร้อมเครื่องเล่น DVD ประจำห้องเรียนละ 1 ชุด รวม 63 ห้องเรียน รวมเป็นเงิน 945,000 บาท
พ.ศ. 2548 นางรัญจวน วงษ์กล้าหาญ ได้รับบริจาคเงินจำนวน 6,000,000 บาท (หกล้านบาทถ้วน) งบประมาณสมทบจากกองผ้าป่าการศึกษาโดยคณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมซน และเงินบริจาคสมทบอีก จำนวนหนึ่ง เป็นจำนวน 3,184,452.25 บาท (สามล้านหนึ่งแสนแปดหมื่นลี่พันลี่ร้อยห้าสิบสองบาทยี่สิบห้า สตางค์) รวมเป็นเงิน 9,184,452.25 บาท (เก้าล้านหนึ่งแสนแปดหมื่นลี่พันลี่ร้อยห้าสิบสองบาทยี่สิบห้า สตางค์)จัดสร้างอาคารเรียนแบบ สปซ.1/28ขนาด 4ขั้นใต้ถุนโล่ง 18ห้องเรียน จำนวน 18ห้องเรียน ให้ซื่อว่า “อาคารแดงรัญจวน วงษ์กล้าหาญ 2” (แทนอาคารทองใหญ่ เดิม)
พ.ศ. 2556 ภก.ซัซซัย วิริยะลัมภะ ได้บริจาคเงิน 3,000,000 บาท สมทบสร้างอาคารเรียนวิริยะลัมภะ 3 เป็นอาคารเรียน แบบ สปซ.2/28 ขนาด 4 ขั้น 15 ห้องเรียน ใต้ถุนโล่ง ทำการวางศิลาฤกษ์ วันที่ 31 สิงหาคม 2555 ดำเนินการก่อสร้างตามสัญญาวันที่ 26 ตุลาคม 2555 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 รวมงบประมาณในการก่อสร้าง 14,800,000 บาท (สิบลี่ล้านแปดแสนบาทถ้วน) โดยมีผู้'ปกครอง คณะครู และชุมซนร่วมบริจาคเป็นเงิน 3,040,351 บาท (สามล้านสี่หมื่นสามร้อยสิบห้าบาทถ้วน) งบประมาณจารเงินรายได้ของโรงเรียนจำนวน 8,619,779 บาท (แปดล้านหกแสนหนึ่งหมื่นเก้าพันเจ็ดร้อยเจ็ดสิเก้าบาทล้วน)
พ.ศ. 2558 บริษัทบูรพาคอนกรีตแอนด้คอนสตรัคขั้น จำกัด โดยนายบุญยิน จินาจิ้น ได้บริจาคเงิน 3,000,000 บาท (สามล้านบาทถ้วน) สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสฤษดิเดช บริจำค 4,700,000 บาท (สี่ล้านเจ็ดแสนบาทล้วน) สร้างอาคารโดมหลังคาเมทัลซีส ไร้โครงสร้าง เป็นอาคารลานกีฬำอเนกประสงค์ สำหรับใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนโครงการ English Program เริ่มก่อสร้าง 27 สิงหาคม 2558 แล้วเสร็จ 20 ธันวาคม 2558
นับตั้งแต่โรงเรียนได้เริ่มก่อตั้งมาตั่งแต่ พ.ศ. 2465 จนถึงป้จจุบันรวมเป็นเวลา 95 ปี มีผู้บริหาร โรงเรียน รวม 12 คน ผู้บริหารโรงเรียนคนป้จจุบันคือ ว่าที่ร้อยโทกัมพล ผลพฤกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน สฤษดิเดช โรงเรียนได้รับความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจจากชุมซน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน ซมรมศิษย์เก่า ผู้มีอุ'ปการคุณ'โรงเรียน บุคลากรในโรงเรียนทุกคน ร่วมกันพัฒนาโรงเรียนให้ก้าวไกล อย่างไม่หยุดยั้ง ได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองล่งบุตรหลานเช้าศึกษาในโรงเรียนเป็นจำนวนมาก ใน ปิจจุบันโรงเรียนเปีดทำการสอนตั่งแต่ระดับขั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3ใน3 หลักสูตรด้วยกัน คือ หลักสูตร Standard Wold Class School หลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทย์-คณิตเข้มซ้น และหลักสูตร English Program
ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2501 โดยมีนายสิทธา จิตนาวสารเป็นผู้บริหารโรงเรียน
ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ.2534 โดยมีนางสุนันทา กมุทโยธิน เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ.2544 โดยมีนายอวยชัย ดีประชา เป็นผ้อำนวยการโรงเรียน
ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ.2548 โดยมีนายโอภาส ใบสูงเนิน เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน